ชื่อเห็ด |
เห็ดขอนขาว
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Lentinus squarrosulus Mont.
|
ชื่อท้องถิ่น |
เห็ดขอนขาว, เห็ดมันมะม่วง, เห็ดมัน
|
ชื่อสกุล |
Polyporaceae
|
ชื่อพ้อง |
Log White Fungi
|
ประเภท |
กลุ่มที่รับประทานได้ (edible mushromm)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ | |
ลำต้น : รูปร่าง |
หมวกเก็ด รูปกรวยตื้น สีขาว ขอบงอลงเล็กน้อยเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร เมื่อเป็นเห็ดอ่อน ผิวมีเกล็ดสี่เหลี่ยมเล็กๆ สีน้ำตาลหม่น หรือสีเทา เรียงกระจายจากกลางหมวกออกไปยังขอบ เนื้อบางและเหนียวเล็กน้อย ครีบสีตาวแคบเรียงชิดกันยาวขนานกับกรวยลงไปยึดติดกับก้าน ก้านรูปทรงกระบอก สีขาวยาว 2-6 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร โคนก้านเรียวบนก้านมีเกล็ดเช่นเดียวกับหมวก เนื้อสีขาวแน่นและเหนียว
|
ดอก : ประเภท |
|
ดอก : ขนาด |
|
ดอก : สี |
เห็ดสีขาว
|
ดอก : ลักษณะ |
หมวกดอก (Cap) : มีลักษณะคล้ายรูปถ้วย รูปกรวยตื้น หรือจานก้นลึก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 2 – 10 เซนติเมตร บริเวณกึ่งกลางของหมวกดอก จะบุ๋มลงเล็กน้อย ส่วนบริเวณผิวหมวกดอก จะมีขนขึ้นปกคลุม เป็นกระจุก มองดูคล้ายเป็นเกล็ด, ก้านดอก (Stalk) : มีลักษณะแข็ง และเหนียว ติดบริเวณตรงกลาง ของหมวกดอก หรือด้านข้าง โดยส่วนมาก จะไม่อยู่ตรงกึ่งกลางหมวกดอก แต่จะค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง ขนาดของก้านดอก กว้างประมาณ 0.3 – 0.8 เซนติเมตร และ ยาวประมาณ 2 – 5 เซนติเมตร, ครีบดอก (Gill) : จะอยู่ติดกับก้านดอก เมื่อดอกเห็ดยังอ่อน เนื้อจะบางและเหนียว มีสีขาว หรือสีครีม ขนาดกว้าง ประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร มีก้านชูสปอร์ เป็นรูปกระบอง ขนาด 17 – 22 x 3.5 – 5 ไมครอน, สปอร์ (Basidiospore) : เป็นสีขาว มีลักษณะใส ผนังเรียบ เป็นรูปยาวรี มีขนาด 5 – 6.5 x 1.7 – 2.5 ไมครอน
|
สารสำคัญ |
สารสกัดหยาบด้วย เอทิล อะซิเตท (Ethyl Acetate) ที่ได้จากส่วนเซลล์ของ เห็ดขอนขาว มีฤทธิ์ในการต่อต้าน อนุมูลอิสระ
|
สรรพคุณที่พบ |
ดอก-บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้ไข้พิษ ช่วยระบบขัถ่ายทำงานดีขึ้น
|
การใช้ประโยชน์ |
แปรรูปเป็นสินค้าชนิดอื่นได้ เช่น แหนมเห็ด ข้าวเกรียบเห็ด เป็นต้น
|
คุณค่าทางอาหาร |
เห็ดขอนขาว 100 กรัม ให้พลังงาน 48 กิโลแคลอรี น้ำ 87.5 กรัม โปรตีน 3.3 กรัม เส้นใย 3.2 กรัม ฟอสฟอรัส 163 มิลลิกรัม
|
รายละเอียดทั่วไป | |
ฤดูกาลที่ออกดอก |
ออกดอกให้เห็นในช่วงระหว่างหน้าร้อนต่อหน้าฝน หรือช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม
|
กลิ่น |
|
การกระจายพันธุ์ |
ในธรรมชาติมักพบขึ้นบนไม้เนื้อแข็ง พบเกิดกับไม้เนื้ออ่อนที่ตายแล้ว เช่น ต้นมะม่วง ตอมะพร้าวที่ตายแล้ว เช่น ต้นมะม่วง ตอมมะพร้าวที่ตายแล้ว
|
จังหวัดที่พบในไทย |
เป็นที่นิยมของตลาดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
|
ประเภทป่าที่พบ |
เห็ดขอนขาวเป็นเห็ดที่ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ตามขอนไม้ที่ผุพังในเขตป่าร้อนชื้น หรือเป็นกลุ่มโคนติดกัน บนขอนไม้พลวง เหียง ในป่าเต็งรัง
|
พื้นที่ที่พบ |
ประเทศไทย ลาว เขมร เวียดนามและมาเลเซีย
|
ระดับความสูงของพื้นที่ |
|
ประชากรในธรรมชาติ |
การผลิตเห็ดเพาะก็สามารถทำได้ตลอดทั้งปี
|
การปลูกเลี้ยง |
เตรียมท่อนไม้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์ 4 – 6 นิ้ว ความยาว 1 เมตร, ใช้สว่านไฟฟ้าขนาด 5 - 6 หุน เจาะขอนไม้ที่เตรียมไว้เป็นรูให้มีความลึกประมาณ 5 เซนติเมตร โดยทำเป็นแถวๆ ตามความยาวของไม้ และให้แต่ละแถวให้ห่างกันประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร, นำเชื้อเห็ดที่ซื้อมา ส่วนใหญ่เขาใช้ทำมาจากเมล็ดธัญพืชคือเมล็ดข้าวฟ่าง ใส่เชื้อเห็ดลงไปในรูไม้ที่เจาะแล้วประมาณ 10 เมล็ด แล้วนำขี้เลื่อยของไม้ที่เจาะแล้วใส่ลงไปใส่จนแน่น, หลังจากนั้นใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายอัตราส่วน 1 : 1 คลุกน้ำหมาด ๆ ปิดรูที่ใส่เชื้อเห็ดแล้ว หรือปูนยาแนวกระเบื้อก็ได้, จากนั้นนำขอนเห็ดไปเก็บพักไว้ในที่ร่ม หรือใต้ต้นไม้เพื่อเป็นการบ่มเชื้อเห็ด และควรรดน้ำให้ขอนเห็ดประมาณ 5 – 10 วัน รดสักครั้ง หรือถ้าเห็นว่าขอนแห้งเกินไป ก็สามารถรดน้ำได้เลย
|
แหล่งอ้างอิง |
(งานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/knowledge_8.pdf
|
|
(สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).)
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view3.aspx?id=10170
|
|
(ifarm)
http://www.ifarm.in.th/index.php?option=com_mtree&task=viewlink&link_id=59&Itemid=162
|
|
(ขั้นตอน/วิธีการเพาะเห็ดขอนขาว)
http://renunakhon.nakhonphanom.doae.go.th/old/hadkon.html
|
|
(เพาะเห็ดขอนขาวขาย ฉีกตลาด เจาะกลุ่มคนภาคตะวันออก สร้างรายได้ดี ผลิตขายไม่ทัน)
http://www.matichon.co.th/news/180403
|
|
(การเพาะเห็ดขอนขาว)
http://rajsimafarm.myreadyweb.com/article/topic-18379.html
|
|
(เห็ดขอนขาว)
https://sites.google.com/site/mushroomcultureth/mushroom/lentinussquarrosulus
|
|
(เห็ดขอนขาว)
http://hort.ezathai.org/?p=1561
|
|
|
|
|
| |