ชื่อเห็ด |
เห็ดฟาง
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Volvariella volvacea.
|
ชื่อท้องถิ่น |
จีน-CHO KU (เชาคู) ญี่ปุ่น-FUKUROTAKE (ฟูกูโรตาเกะ) ฟิลิปปินส์-KABUTI (คาบูติ) เห็ดบัว
|
ชื่อสกุล |
Pluteaceae
|
ชื่อพ้อง |
Straw Mushroom
|
ประเภท |
กลุ่มที่รับประทานได้ (edible mushromm)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ | |
ลำต้น : รูปร่าง |
เห็ดฟางเป็นเห็ดที่มีลักษณะดอกโตปานกลาง สีของเปลือกหุ้มรวมทั้งหมวกดอก มีสีขาวเทาอ่อนไปจนถึงดำขึ้นอยู่กับ สายพันธุ์และสภาพแวดล้อม เส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเมื่อโตเต็มที่ ประมาณ 4-12 ซม. หลังจากดอกเห็ดพัฒนาจาก เส้นใยชั้น 2 มารวมกัน สามารถแบ่งรูปร่างทางสัณฐานวิทยาเป็น 6 ระยะ คือ
ระยะที่ 1
ระยะเริ่มแรกจากการเกิดดอก หรือระยะเข็มหมุด (pinhead stage) หลังการโรยเชื้อเห็ดแล้ว 5-7 วัน เส้นใย จะมารวมตัวกันเป็นจุดสีขาว มีขนาดเล็ก (ที่อุณหภูมิประมาณ 28 - 32 เซลเซียส)
ระยะที่ 2
ระยะดอกเห็ดเป็นกระดุมเล็ก (tiny button stage) หลังจากระยะแรก 15-30 ชม. หรือ 1 วัน ดอกเห็ด เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นรูปดอกเห็ดลักษณะกลมยกตัวขึ้นจากวัสดุเพาะ
ระยะที่ 3
ระยะกระดุม (button stage) หลังจากระยะ 2 ประมาณ 12 -20 ชม. หรือ 1 วัน ทางด้านฐานโตกว่า ส่วนปลาย แต่ยังมีลักษณะกลมรีอยู่ ภายในมีการแบ่งตัวเป็นก้าน ดอก และครีบดอก
ระยะที่ 4
ระยะรูปไข่หรือระยะดอกตูม (egg stage) เป็นระยะต่อเนื่องจากระยะที่ 3 หากมีอุณหภูมิสูงกว่า 32 เซลเซียส จะใช้ ้เวลาเพียง 8 -12 ชม. ดอกเห็ดเริ่มมีการเจริญเติบโตทางความยาวของก้านดอก และ ความกว้างของหมวกดอก เปลือกหุ้มดอกบางลง และเรียวยาวขึ้นคล้ายรูปไข่ ส่วนมากจะมีการเก็บเกี่ยวใน ระยะนี้เพราะเป็น ระยะที่ให้น้ำหนักสูงสุด และเป็นลักษณะที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานมากที่สุด รวมทั้งเป็น ขนาดที่โรงงาน แปรรูป (บรรจุกระป๋อง) ต้องการ
ระยะที่ 5
ระยะยืดตัว (elongation stage) หลังระยะที่ 4 เพียง 3-4 ชม. การเจริญเติบโตของก้านและหมวกดอก เป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่วนบนสุดของเปลือกหุ้มดอกแตกออกอย่างไม่เป็นระเบียบ (irregular) สีของผิว หมวกดอกมีสีเข้มขึ้น แต่ก้านและครีบจะเป็นสีขาว
|
ดอก : ประเภท |
รูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยมมุมป้าน
|
ดอก : ขนาด |
หมวกเห็ดรูปไข่ เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–10 เซนติเมตร
|
ดอก : สี |
หมวกเห็ดรูปไข่ กลางหมวกมีขนละเอียดสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลแดง ครีบสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน
|
ดอก : ลักษณะ |
ลักษณะดอกเห็ดอ่อนเป็นรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยมมุมป้าน เมื่อเจริญขึ้นจะปริแตกคงเหลือเยื่อหุ้มรูปถ้วยอยู่ที่โคน ผิวนอกของเยื่อหุ้มส่วนมากจะเปลี่ยนเป็นสีขาวหม่นหรือสีเนื้อ หมวกเห็ดรูปไข่ เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–10 เซนติเมตร กลางหมวกมีขนละเอียดสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลแดง ครีบสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ไม่ยึดติดกับก้าน สั้นยาวไม่เท่ากัน ก้านยาว 4–10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–1 เซนติเมตร ผิวสีขาวนวลมีขนสีขาว เนื้อเป็นเส้นหยาบสีขาวรวมกันแน่น ตรงกลางก้านกลวง สปอร์รูปรี สีชมพู ขนาด 5–6 x 7–9 ไมโครเมตร ผิวเรียบ
|
สารสำคัญ |
เห็ดฟางมีสาร vovatoxin วิตามินซี
|
สรรพคุณที่พบ |
ลดการติดเชื้อ สมานแผล ลักปิดลักเปิด โรคเหงือก ลดอาการผื่นคัน ชะลอและยับยั้งเซลล์มะเร็ง บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้ช้ำใน บำรุงตับ
|
การใช้ประโยชน์ |
เห็ดฟาง เป็นพืชอาหารชนิดหนึ่งที่ชาวไทยนิยมรับประทานกันมากและทั่วไปเป็นพืชที่มีรสชาติดีแล้วยังมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด และมีคุณสมบัติทางยารักษาโรคบางอย่างได้ ผู้ที่รับประทานเห็ดฟางเป็นประจำ จะทำให้กรดไขมันในเส้นเลือดไม่สูงหรือต่ำเกินไป
|
คุณค่าทางอาหาร |
เห็ดฟางเป็นเห็ดที่มีคุณค่าอาหารสูง และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ในการวิเคราะห์เห็ดฟาง 100 กรัม มีคุณค่าอาหารดังต่อไปนี้ พลังงาน 35 kcal โปรตีน 3.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม แคลเซียม 8 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ไนอะซิน 3.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 7 มิลลิกรัม
|
รายละเอียดทั่วไป | |
ฤดูกาลที่ออกดอก |
ควรทำการเก็บในตอนเช้ามืด
|
กลิ่น |
|
การกระจายพันธุ์ |
การเพาะเห็ดฟาง ของประเทศไทยเราสามารถเพาะ ได้ตลอดปี แต่หน้าหนาวผลผลิตจะลดน้อยลง เนื่องจากอุณหภูมิต่ำ จึงทำให้ราคาสูง หลังฤดูเกี่ยวข้าวอากาศร้อน ฟางและแรงงานมีมาก มีคนเพาะมาก จึงเป็นธรรมดา ที่เห็ดจะมีราคาต่ำลง ในฤดูฝน ชาวนาส่วนมากทำนา การเพาะเห็ดน้อยลง ราคาเห็ดฟางนั้นก็จะดีขึ้น
|
จังหวัดที่พบในไทย |
|
ประเภทป่าที่พบ |
|
พื้นที่ที่พบ |
การนำเห็ดฟางมาใช้ประโยชน์เริ่มแรกสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นที่ประเทศจีน และเริ่มมีการเพาะในแถบจังหวัดแคนตัน มณฑลกวางตุ้ง และขยายไปทางตอนใต้ของจีนแถบเมืองกวางลี เกียงลี ฟูเคน และฮูนาน จนขยายลงมาถึงประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย (วัลลภ พิเชฐกุล, 2526. อ้างถึงใน SHU-TING CHANG, 1972. The chainese Mushroom.)(1)
|
ระดับความสูงของพื้นที่ |
|
ประชากรในธรรมชาติ |
|
การปลูกเลี้ยง |
สำหรับรูปแบบของโรงเรือนหรือห้องเพาะแต่ละหลัง ควรมีขนาดไม่ต่ำกว่า กว้าง x ยาว x สูง = 4x6x3.5 เมตร มีประตูหัวท้าย หน้าต่างแบบเปิด-ปิด เพื่อระบายอากาศร้อนและอากาศเสียในโรงเรือนหรือห้องเพาะ ในโรงเรือนบุด้วยพลาสติกทั้งหมดซึ่งผ้าพลาสติกยาติดผนังห้องด้วยกาวยางหรือเย็บให้ติดกันด้วยเครื่องรีดพลาสติก เพื่อเก็บไอน้ำร้อนสำหรับอบปุ๋ยหมักและเก็บความชื้นขณะเพาะ ชั้นเพาะในโรงเรือนมี 2 แถวๆ ละ 4 ชั้นแต่ละชั้นมีความกว้างประมาณ 1-1.25 เมตร ยาวประมาณ 5 เมตร และสูงห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร พื้นของชั้นปูด้วยไม้ลวกหรือตะแกรงโลหะหรืทอตะแกรงพลาสติก เครื่องกำเนิดไฟฟ้าไอน้ำร้อนมีทั้งชนิดใช้ไฟฟ้าซึ่งมีราคาสูงและชนิดประกอบ ด้วยเตาอิฐกับหม้อต้มน้ำที่ประดิษฐ์ขึ้นจากแผ่นเหล็กหรือจะใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร จำนวน 2-3 ใบ แป๊บน้ำต่อจากหม้อต้มน้ำผ่านเข้าไปในโรงเรือน วางไว้ที่พื้นใต้ชั้นเพาะแต่ละแถว แป๊บน้ำส่วนนี้จะเจาะรูเล็กๆ ห่างกันประมาร 10 เซนติเมตร วางไปตามแนวยาวใต้ชั้นเพาะ ไอน้ำร้อยภายในโรงเรือนขณะอบปุ๋ยหมัก ควรควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับ 60-65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง
|
แหล่งอ้างอิง |
http://puechkaset.com/เห็ดฟาง/
|
|
https://th.wikipedia.org/wiki/เห็ดฟาง
|
|
http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1328&s=tblplant
|
|
http://www0.tint.or.th/nkc/nkc53/content/nstkc53-067.html
|
|
(เรียนรู้การเพาะเห็ด)
http://mushroom-garden.blogspot.com/2016/09/blog-post_5.html
|
|
http://chan.nfe.go.th/chanthanimit/index.php?name=knowledge2&file=p_readknowledge&id=37
|
|
http://www.ifarm.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=621:2011-07-07-10-59-21&catid=129:2011-05-04-04-48-12&Itemid=324
|
|
https://farmhet.wordpress.com/ประโยชน์และสรรพคุณของเ/
|
|
http://www.xn--72cf4a6b4cl2b9a5ed2fua.com/2013/07/blog-post.html#.WKb-RVWLTIU
|
|
|
| |