ชื่อเห็ด |
เห็ดแชมปิญอง
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Agaricus bisporus(langes) Sing.
|
ชื่อท้องถิ่น |
เห็ดกระดุม เห็ดฝรั่ง เห็ดขาว
|
ชื่อสกุล |
Agaricaceae
|
ชื่อพ้อง |
Champigon Mushroom
|
ประเภท |
กลุ่มที่รับประทานได้ (edible mushromm)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ | |
ลำต้น : รูปร่าง |
เห็ดแชมปิญอง มีหมวกดอกสีขาว หรือสีครีมลักษณะคล้ายกระดุม ครีบดอกคล้ายซี่ร่ม เมื่อแรกบานครีบดอกมีสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีชมพู ครีบดอกเป็นแหล่งผลิตสปอร์ ก้านดอกสีขาว ลักษณะคล้ายทรงกระบอก มีวงแหวนล้อมรอบ ส่วนโคนของก้านดอก มีเส้นใยหนาแน่น
|
ดอก : ประเภท |
สายพันธุ์เห็ดแชมปิญอง
พันธุ์ดอกสีขาว
เป็นชนิดที่มีสีขาวในทุกส่วน ก้านดอกเล็กยาว คุณภาพดี รสอร่อย พันธุ์ที่นิยมเพาะได้แก่ พันธุ์สโนไวท์ พันธุ์โกลเด้นไวท์ พันธุ์ซิลเวอร์ไนท์ พันธุ์ไวท์คิงส์ และพันธุ์ไวท์ควีน
พันธุ์ดอกสีครีม
เป็นพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว ออกดอกใหญ่สีครีม พันธุ์ที่นิยมเพาะได้แก่ พันธุ์แซตตันส์ทเวนตี้เซ็นจูรี่ และพันธุ์ดาวนิ่งทาวน์เบอร์ 49 และ 50
พันธุ์ดอกสีน้ำตาล
เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อแน่น ก้านดอกสั้น กลิ่นหอมให้ผลผลิตสูงและทนร้อนได้ดี พันธุ์ที่นิยมเพาะได้แก่ พันธุ์เบสต์อิงแลนด์
|
ดอก : ขนาด |
|
ดอก : สี |
|
ดอก : ลักษณะ |
|
สารสำคัญ |
มีสารเลนติแนน (Lentinan) โซเดียม โพแทสเซียมอยู่สูง
|
สรรพคุณที่พบ |
มีคุณสมบัติที่สามารถช่วยป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านมที่เกิดในผู้หญิง นอกจากนี้เห็ดแชมปิญองยังมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง อันเนื่องมาจากภูมิคุ้มกันในร่างกายมีระบบการทำงานที่ดีขึ้น ช่วยต้านทานโรค และการกินเห็ดแชมปิญองยังส่งผลดีต่อระบบการไหลเวียนของเลือด ซึ่งจะทำให้สารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้นด้วย
|
การใช้ประโยชน์ |
เป็นอาหารเพื่อสุขภาพอีกชนิดหนึ่งที่ควรกินเป็นประจำ ซึ่งสามารถจะนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาต้ม ผัด แกง ทอด ยำ หรือปรุงเป็นน้ำพริก และนอกจากจะมีกลิ่นหอมแล้วยังมีรสชาติที่อร่อยกลมกล่อมช่วยชูรสอาหารจานนั้นให้อร่อยได้ยิ่งขึ้น
|
คุณค่าทางอาหาร |
เห็ดแชมปิญองสุกปริมาณ 100 กรัม ===> พลังงาน 16 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรท 1.5 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม แคลเซียม 1.1 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 100 มิลลิกรัม โซเดียม 380 มิลลิกรัม
|
รายละเอียดทั่วไป | |
ฤดูกาลที่ออกดอก |
ช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมต่อการเพาะเห็ด คือช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ถึง ต้นเดือนกุมภาพันธุ์ เพราะอุณหภูมิในช่วงนี้ลดเหลือ 16-18 องศาเซลเซียส เหมาะต่อการพัฒนาการของดอกเห็ดมาก
|
กลิ่น |
หอม
|
การกระจายพันธุ์ |
มีขายตามท้องตลาดช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์
|
จังหวัดที่พบในไทย |
ภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่
|
ประเภทป่าที่พบ |
|
พื้นที่ที่พบ |
ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของเห็ดแชมปิญอง มาจากประเทศฝรั่งเศส ได้มีการนำเข้ามาเพาะในประเทศไทยที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี 2513 และกระจายไปยังจังหวัดอื่นๆ ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น แต่ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพันธุ์ให้สามารถเพาะได้เกือบทุกภูมิภาคของประเทศไทยแล้ว
|
ระดับความสูงของพื้นที่ |
|
ประชากรในธรรมชาติ |
|
การปลูกเลี้ยง |
มีการเพาะเห็ดชนิดนี้ทางภาคเหนือ เนื่องจากมีสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเห็นชนิดนี้
|
แหล่งอ้างอิง |
(เห็ดแชมปิญอง)
http://champigonmushroom.blogspot.com/2012/07/1jpg-champigon-mushroom-agaricus.html
|
|
http://herbsbotany.blogspot.com/2014/12/blog-post_65.html
|
|
http://www.chokdeefarm.in.th/article/11//เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง#.WKQ-61WLTIU
|
|
เทคโนโลยีการเกษตร
http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05036011253&srcday=&search=no
|
|
http://renunakhon.nakhonphanom.doae.go.th/downloads/pdf/fungi/12เห็ดแชมปิยอง.pdf
|
|
http://sukkaphap-d.com/12-สรรพคุณประโยชน์ของเห็/
|
|
chokdee farm
http://www.chokdeefarm.in.th/article/11/เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง#.WKbtklWLTIU
|
|
|
|
|
|
|
| |