ชื่อเห็ด |
เห็ดหอม
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Lentinus edodes (Berk.) Sing.
|
ชื่อท้องถิ่น |
ญี่ปุ่น-ไชอิตาเกะ เกาหลี-โบโกะ จีน-เฮียโกะ ภูฏาน-ชิชิ-ชามุ อังกฤษ-Black mushroom หรือ เห็ดดำ
|
ชื่อสกุล |
Lentinula
|
ชื่อพ้อง |
Shiitake mushroom
|
ประเภท |
กลุ่มที่รับประทานได้ (edible mushromm)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ | |
ลำต้น : รูปร่าง |
หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็นเกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง หรือน้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม
|
ดอก : ประเภท |
|
ดอก : ขนาด |
|
ดอก : สี |
หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็นเกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง หรือน้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน
|
ดอก : ลักษณะ |
หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม
|
สารสำคัญ |
เลนติแนน (Lentinan) กรดอะมิโนชื่อ อิริทาดีนีน (Eritadenine) และจากการวิเคราะห์ของนักโภชนาการพบว่า เห็ดหอมมีสารเออร์โกสเตอรอล (Ergosterol) ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับรังสียูวีจากดวงอาทิตย์ กลไกรังสียูวีจะไปเปลี่ยนสารเออร์โกสเตอรอลในผิวหนังให้เป็นวิตามินดี
|
สรรพคุณที่พบ |
ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพในการต่อสู้ ยับยั้ง หรือป้องกันการเติบโตของเซลล์เนื้องอกและมะเร็งได้ดี ช่วยให้ไตย่อยคอเลสเตอรอลได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ปริมาณไขมันในเลือดและระดับคอเลสเตอรอลลดลง ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกผุ โรคโลหิตจางได้
|
การใช้ประโยชน์ |
เป็นอาหารแสนอร่อยแล้วยังมีคุณค่าสารอาหารและมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังชั้นดี จนได้ชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ
|
คุณค่าทางอาหาร |
เห็ดหอมสด 100 กรัม ให้พลังงาน 26.61 กิโลแคลอรี โปรตีน 2.19 กรัม ซึ่งมีกรดอะมิโนอยู่ 21 ชนิด ที่โดดเด่นคือ กรดกลูตามิกที่เป็นผงชูรสตามธรรมชาติของเห็ดหอมมีอยู่สูงถึง 355 มิลลิกรัม เห็ดหอมจึงถูกยกให้เป็น ยอดแห่งความหอมอร่อย ในการปรุงอาหารจีน มีคาร์โบไฮเดรต 4.19 กรัม ไขมัน 0.12 กรัม วิตามินบี 2 และไนอะซิน ปริมาณโซเดียมต่ำเหมาะสำหรับคนเป็นโรคไต มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก
|
รายละเอียดทั่วไป | |
ฤดูกาลที่ออกดอก |
ตลอดปีแต่จะให้ผลผลิตดีในช่วงฤดูหนาว
|
กลิ่น |
|
การกระจายพันธุ์ |
ธรรมชาติของเห็ดหอมแล้วจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในแถบที่มีอุณหภูมิอบอุ่นสลับกับหนาวเย็นทำให้เขตที่เหมาะสมสำหับการเพาะเห็ดหอมของบ้านเราจึงอยู่ทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทยเป็นส่วนใหญ่
|
จังหวัดที่พบในไทย |
|
ประเภทป่าที่พบ |
|
พื้นที่ที่พบ |
เห็ดหอมที่นำเข้ามาส่วนใหญ่นั้นมาจากประเทศญี่ปุ่นเพราะประเทศญี่ปุ่นจัดว่าเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีในการเพาะเห็ดหอมสูงมากจนสามารถผลิตเห็ดหอมจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก รองลงมาได้แก่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน และเกาหลี ตามลำดับ นอกจากนี้เห็ดหอมที่วางขายตามท้องตลาดส่วนหนึ่งได้มาจากการลักลอบนำเข้าตามแนวชายแดนไม่ว่าจะเป็นชายแดนไทย-มาเลเซีย ไทย-กัมพูชา ไทย-พม่า
|
ระดับความสูงของพื้นที่ |
|
ประชากรในธรรมชาติ |
|
การปลูกเลี้ยง |
การเพาะเห็ดหอมนิยมเพาะอยู่ ๒ วิธีคือ การเพาะในขอนไม้และ เพาะในถุงพลาสติกโดยใช้วัสดุขี้เลื่อยไม้ยางพารา แต่การเพาะในขอนไม้จะให้ผลผลิตช้าและยากต่อการจัดการ ดูแลรักษา ดังนั้นจึงแนะนำวิธีการในถุงพลาสติกด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพารา ง่ายต่อการดูแลรักษา ให้ผลผลิตเร็ว
|
แหล่งอ้างอิง |
(Shiitake Mushroom / เห็ดหอม)
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/6830/shiitake-mushroom-เห็ดหอม
|
|
(วิกิพิเดีย)
https://th.wikipedia.org/wiki/เห็ดหอม
|
|
สารพันเห็ด กลุ่ม : เห็ดหอม
http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=2121
|
|
https://farmhet.wordpress.com/2013/07/03/การเพาะเห็ดหอม/
|
|
http://prayod.com/เห็ดหอม-shiitake-mushroom/
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |